เมธอด

ในบทที่แล้ว เรามีการแนะนำเรื่องชุดอักขระ หรือ String (สตริง) นั่นคือชุดของตัวอักขระ ที่จะครอบด้วย " " หรือ ' ' เพื่อใช้ในการแสดงผลคำต่างๆ นั่นเอง

ในบทนี้เราจะมาเรียนรู้กันถึงเมธอด และการใช้เมธอดของสตริงกัน

เมธอด (Method)

หากแปลตรงๆ คำนี้จะแปลว่า "วิธีการ" แต่ว่าในโลกของการเขียนโค้ดนั้น เมธอดจะเป็น "ชุดคำสั่ง" ที่เราสามารถกระทำการต่างๆ กับโปรแกรม หรือข้อมูลได้

บางครั้งอาจเรียกว่า "ฟังก์ชั่น" (Function) ในการเรียนขั้นพื้นฐานนี้ จะถือว่าเป็นสิ่งเดียวกันก็ได้ครับ

การเรียกใช้เมธอดนั้น จะอยู่ในรูปแบบของตัวจุด . แล้วตามด้วยชื่อของเมธอดนั้น (ในบทที่แล้วเราจะเห็น .to_f, .to_i ซึ่งก็เป็นเมธอดเช่นกัน) ซึ่งในการเขียนภาษา Ruby เราจะมีเมธอดต่างๆ ให้เราเลือกใช้มากมาย

ตัวอย่างเมธอดของสตริง

เมธอดของสตริง หมายถึงชุดคำสั่งที่สามารถแปลงค่าของสตริง ให้เป็นอย่างอื่นได้

แปลงตัวพิมพ์เล็กเป็นตัวพิมพ์ใหญ่ ด้วย upcase

ใช้เมธอด .upcase เพื่อแปลงสตริงเป็นตัวพิมพ์ใหญ่ทั้งหมด

upcase แปลงสตริงเป็นตัวพิมพ์ใหญ่

แปลงตัวพิมพ์ใหญ่เป็นตัวพิมพ์เล็ก ด้วย downcase

ในทางกลับกัน ถ้าอยากได้ตัวพิมพ์เล็กทั้งหมด ก็เปลี่ยนเป็น .downcase แทน

downcase แปลงสตริงเป็นตัวพิมพ์เล็ก

กลับหัวกลับหางสตริง ด้วย reverse

ใช้ .reverse เพื่อกับด้านสตริง (ตัวแรกจะเป็นตัวสุดท้าย ไล่กลับมาเรื่อยๆ)

reverse กลับด้านสตริง

วงเล็บหายไปไหน? 🧐

หากเคยใช้งานภาษาเขียนโปรแกรมอื่นๆ มา อาจสงสัยว่า ทำไมการเรียกใช้เมธอดถึงไม่มีวงเล็บ () ด้านหลังชื่อเมธอดล่ะ คำตอบก็คือ เพื่อความสวยงามนั่นเอง

จริงๆ แล้วจะใส่ก็ได้นะ แต่เขาไม่นิยมใช้กัน ถ้าไม่จำเป็น

ใส่วงเล็บหลังเมธอด หรือไม่ใส่ก็ได้ ค่าเท่ากัน

การต่อเมธอด (Method Chaining)

เราสามารถที่จะนำเมธอดมาต่อกันได้ เช่นถ้าเราต้องการแปลงให้เป็นตัวพิมพ์ใหญ่ และกลับด้านสตริงไปพร้อมๆ กัน ก็ให้พิมพ์เมธอดต่อท้ายกันได้เลย

การนำเมธอดมาต่อกัน (.reverse.reverse คือกลับด้านสองครั้ง จึงได้ค่ากลับมาเหมือนเดิม)

เมธอดของสตริงนั้นยังมีอีกมากมาย และของข้อมูลประเภทอื่นๆ ก็ยังมีอีกมาก แต่ในบทต่อไปเราจะแนะนำการสร้างและใช้งานตัวแปร พร้อมกับรู้จักข้อมูลพื้นฐานประเภทอื่นๆ กันให้ครบก่อน

Last updated